เข้าใจผู้ป่วยอัลไซเมอร์

′อัลไซเมอร์′ เป็นหนึ่งในโรคที่การแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่สามารถคิดค้นวิธีการป้องกันและรักษาได้ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี

อาการหลักของ โรคอัลไซเมอร์ มักจะพบบ่อยประมาณ 70-90 % ของผู้ป่วย คือ การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาทิ พูดซ้ำๆ หลงลืม ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย สับสนเกิดภาพหลอน

ญาติหรือผู้ดูแลมักไม่เข้าใจและไม่สามารถรับมือกับ พฤติกรรมเหล่านั้นได้ ส่วนใหญ่การดูแลมักจะจบลงด้วยการทะเลาะ และการไม่ใส่ใจกับผู้ป่วยจะส่งผลให้อาการของโรค ทรุดลงอย่างรวดเร็วกว่าที่ควรจะเป็น

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่ถูกต้อง ผู้ดูแลต้องใช้ความอดทน เข้าใจในอาการป่วยของโรคอย่างถ่องแท้ ต้องทำความเข้าใจว่าทำไมผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ถึงมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

ลองจินตนาการว่าหากวันหนึ่งเราตื่นขึ้นมาและไม่สามารถมองเห็นวัตถุสิ่งของ ชัดเจนเหมือนเคย ไม่สามารถได้ยินเสียงที่คนรอบข้างพูดได้ถนัด เพราะมีเสียงรบกวนภายในหูอยู่ตลอดเวลา หยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ไม่ถนัดเพราะกะระยะไม่ถูก แถมนึกคำพูด นึกชื่อคน นึกเรื่องราวไม่ออก ถ้ามีอาการอย่างนั้นเราจะรู้สึกอย่างไร ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็จะรู้สึกเช่นเดียวกัน เพราะระบบความคิด ความจำ การรับรู้ของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ แตกต่างไปจากคนปกติทั่วไป ผู้ป่วยจึงต้องการความรักและความเข้าใจจากญาติและผู้ดูแลมากที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก มติชนออนไลน์ โดย เพ็ญศิริ ปันยารชุน
------------------------------------------------------------
โรงพยาบาลพีเอชอินทิเกรทีฟเมดิคอลแคร์(เพอร์เฟคเฮลธ)
รับดูแลรักษา ฟื้นฟูผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้น ฟื้นฟูร่างกาย ทำกายภาพบำบัด
ตรวจสุขภาพประจำปี รายบุคคลและหมู่คณะ ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตรวจสุขภาพนอกสถานที่ (Mobile)
----------------------------------------------------------
ติดต่อสอบถามได้ที่ 02-895-7577

Visitors: 225,372